โรงเรียนโคราชวิทยา
ประวัติโรงเรียน

 

ประวัติโรงเรียนโคราชวิทยา

ปี พ.ศ. 2535 นายสุวรรณ  จันทร์รัตนปรีดา ประธานสมาคมศิษย์เก่ารวมมิตรโคราชและมูลนิธิหลักเสียงเซี่ยงตึ้ง เล็งเห็นความสำคัญของโครงสร้างในการจัดการดูแลสถานที่ศึกษาแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงให้ทำการจดทะเบียน“มูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราช” เป็นองค์กรช่วยดูแลกิจการของโรงเรียนตามเจตนาของทุกฝ่ายให้ยั่งยืนนานสืบไปโดยมีกรรรมการมูลนิธิหลักเสียงเซี่ยงตึ้ง 12 ท่านและกรรมการสมาคมศิษย์เก่ารวมมิตรโคราช 12 ท่าน รวม 24 ท่าน


จากนั้นได้จัดการหาเงินเพื่อก่อสร้าง อาคารโดยเปิดชั้นอนุบาลขึ้นก่อน ต่อมาได้ขออนุญาตเปิดชั้นประถมขึ้นตามลำดับได้ชื่อว่า “โรงเรียนโคราชวิทยา” โดยมีนางสาวฉันทนา   สุรเดชพงษ์พัฒน์ เป็นครูใหญ่ คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราชในชุดแรก ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทุกประการจนหมดอายุครบวาระตามเงื่อนไขในบทเฉพาะกาลในข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ จากนั้นคณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกนายปรีดา  กาญจนวัฒนา เป็นประธานสมัยที่ 2 และสมัยที่ 3 เมื่อนายปรีดา  กาญจนวัฒนา เข้ารับตำแหน่งประธานมูลนิธิฯ ก็เป็นขณะเดียวกันกับกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ใช้บังคับบางส่วน อีกทั้งกฎหมายกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบดำเนินการยกระดับความรู้ ความสามารถในการสอนของครูอาจารย์โรงเรียนให้สูงขึ้น เพื่อให้ได้รับรองวิทยฐานะของโรงเรียนจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมวางแผนโครงสร้างให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติทันกับเหตุการณ์อย่างรีบเร่งต่อไปจากนั้นได้จัดการหาเงินเพื่อก่อสร้าง อาคารโดยเปิดชั้นอนุบาลขึ้นก่อน ต่อมาได้ขออนุญาตเปิดชั้นประถมขึ้นตามลำดับได้ชื่อว่า “โรงเรียนโคราชวิทยา” โดยมีนางสาวฉันทนา   สุรเดชพงษ์พัฒน์ เป็นครูใหญ่ คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราชในชุดแรก ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทุกประการ จนหมดอายุครบวาระตามเงื่อนไขในบทเฉพาะกาลในข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ จากนั้นคณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกนายปรีดา  กาญจนวัฒนา เป็นประธานสมัยที่ 2 และสมัยที่ 3 เมื่อนายปรีดา  กาญจนวัฒนา เข้ารับตำแหน่งประธานมูลนิธิฯ ก็เป็นขณะเดียวกันกับกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ใช้บังคับบางส่วน อีกทั้งกฎหมายกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  ก็ใช้บังคับบางส่วน อีกทั้งกฎหมายกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบดำเนินการยกระดับความรู้ ความสามารถในการสอนของครูอาจารย์โรงเรียนให้สูงขึ้น เพื่อให้ได้รับรองวิทยฐานะของโรงเรียนจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมวางแผนโครงสร้างให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางปฏิบัติทันกับเหตุการณ์อย่างรีบเร่งต่อไปเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ สมัยนายปรีดา  กาญจนวัฒนา ได้หมดวาระการเป็นคณะกรรมการฯ  จึงมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในปี พ.ศ. 2547 และได้นายชัย  ธรรมธาราณา เป็นประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราชในสมัยที่ 4 ประจำปี 2547-2548 สมัยที่ 5 ประจำปี 2549-2550 สมัยที่ 6 ประจำปี 2551-2552 สมัยที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2553-2554     

 

เมื่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ สมัยนายชัย ธรรมธาราณา ได้หมดวาระการเป็นคณะกรรมการฯ จึงมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 และได้นางสุภาพรรณ  ธรรมธาราณา เป็นประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราชในสมัยที่ 8 ประจำปี 2555-2556 เมื่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ สมัยนางสุภาพรรณ  ธรรมธาราณา ได้หมดวาระการเป็นคณะกรรมการฯ จึงมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในปี พ.ศ. 2557 และได้นายสมชัย  ติรเศรษฐภักดี  เป็นประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราชในสมัยที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2557-2558 และสมัยที่ 10 ประจำปี 2549-2560 เมื่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ สมัยนายสมชัย  ติรเศรษฐภักดี ได้หมดวาระการเป็นคณะกรรมการฯ จึงมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในปี พ.ศ. 2561 และได้นายสมบูรณ์  ศรึมโนนุกูล  เป็นประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราชในสมัยที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2561-2563 และเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ สมัยนายสมบูรณ์ ศรีมโนนุกูล ได้หมดวาระลง จึงมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในปี 2563 โดยได้นายสุวัฒน์ จึงวิวัฒนาภรณ์ เป็นประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาโคราช สมัยที่ 12 ประจำปี 2563-2565